Last updated: 30 พ.ค. 2567 | 102 จำนวนผู้เข้าชม |
ปั๊มลมแบบความเร็วคงที่ (Fixed-Speed air compressor) และแบบปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (Variable Speed Drive Air Compressor) ต่างกันอย่างไร?
โดยปกติแล้ว ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) สามารถแบ่งได้หลายประเภทตามการใช้งาน แต่หลักๆ จะแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบหล่อลื่นด้วยน้ำมัน (oil-injected air compressor) และปั๊มลมสกรูหรือเครื่องอัดอากาศชนิดไร้น้ำมัน 100% (oil-free air compressor) ซึ่งการเลือกใช้งานก็ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรมนั้นๆ ด้วยว่าต้องการคุณภาพอากาศอัดสูงระดับใด และเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air compressor) แต่ละประเภทก็จะมีทั้งแบบรุ่นธรรมดาคือเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบความเร็วคงที่ (fixed-speed air compressor) และรุ่นใหม่ที่สามารถปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้ (Variable Speed Drive Compressor) แล้วเทคโนโลยีสองแบบนี้ต่างกันอย่างไร? วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันค่ะ!
ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศรุ่นเดิมๆ ทั่วไปตามท้องตลาดจะเป็นแบบแบบความเร็วคงที่ (fixed-speed air compressor) ที่ค่อนข้างจะกินพลังงาน ทำให้ค่าใช้จ่ายในระบบอัดอากาศมีต้นทุนที่สูง เราเล็งเห็นความสำคัญของการใช้พลังงาน จึงคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยประหยัดพลังงานขึ้นมา โดยการนำเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์เข้ามาติดตั้งในตัวปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor)
หลักการทำงานของปั๊มลมแบบความเร็วคงที่ (Fixed-Speed air compressor)
เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบความเร็วคงที่ (fixed-speed air compressor) เป็นปั๊มลมที่ใช้กันในระบบอัดอากาศแบบดั้งเดิม ที่ไม่สามารถปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้ ไม่ว่าคุณจะมีกำลังการผลิตมากหรือน้อยก็ต้องใช้ความเร็วรอบมอเตอร์ตามที่คุณซื้อมาไม่สามารถปรับได้ตามการใช้งานจริง ทำให้กินพลังงานเป็นอย่างมาก จะมีประสิทธิภาพสูงเมื่อมอเตอร์ทำงานและผลิตอากาศอัดแบบเต็มกำลัง 100% แต่จะมีปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือเมื่อมอเตอร์หยุดทำงานและหยุดผลิตอากาศอัด ทำให้เกิดสภาวะ unload นั่นหมายความว่าเครื่องสตาร์ทอยู่แต่ไม่มีการผลิตลมอัดออกมา มีการกินกระไฟฟ้าปกติ ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานและเงินโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานที่ทำงานหลายกะและ/หรือมีความต้องการลมสูงตลอดทั้งวัน ปั๊มลมชนิดนี้จะเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการเดินเครื่องสม่ำเสมอหรือมีการผลิตตลอดทั้งวันหรือใช้เป็นเครื่องหลักในระบบอัดอากาศ
หลักการทำงานของปั๊มลมแบบปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (Variable Speed Drive Air Compressor)
โดยทั่วไปแล้ว ความต้องการใช้ลมอัดมักจะมีความผันผวน ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) แบบทั่วไปจะเป็นเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบความเร็วคงที่ (Fixed speed compressor) ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการที่ผันผวนได้ เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ทำงานเต็มกำลังเท่านั้น แม้จะมีการใช้งานน้อยแต่ปั๊มลมก็ยังเดินเครื่องเต็มกำลังอยู่ดี จึงทำให้มีพลังงานที่สูญเสียไปจำนวนมาก เมื่อเทียบกับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีเทคโนโลยี Variable Speed Drive (VSD) ที่เราสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วรอบมอเตอร์ได้อัตโนมัติให้ตรงตามความต้องการผลิตอากาศอัดแบบเรียลไทม์ที่ต้องใช้ตามที่โรงงานที่กำหนด เพราะเทคโนโลยี VSD ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานที่ผันผวน เช่น มีกระบวนการผลิตแบบหลายส่วน
หรือมีการใช้งานหลายกะ ที่มีความต้องการลมอัดขึ้นๆ ลงๆ ตลอดทั้งวัน หากมีความต้องการอากาศเพิ่มขึ้น ความเร็วของมอเตอร์ก็เพิ่มขึ้น และมีการจ่ายกระแสไฟ (CFM) ที่มากขึ้น ในทางกลับกันหากความต้องการอากาศลดลง มอเตอร์ก็จะหมุนช้าลงโดยอัตโนมัติ ทำให้การจ่ายกระแสไฟ (CFM) ลดลงตามไปด้วย เนื่องจากเทคโนโลยี VSD ช่วยปรับให้ปั๊มลมมีการใช้พลังงานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยจะจับคู่เอาท์พุตที่ผลิตได้กับความต้องการที่จำเป็น พร้อมปรับความเร็วรอบมอเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศแบบปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (Variable Speed Drive Air Compressor) จึงเหมาะกับการผลิตที่มีความผันผวนวันที่มีความต้องการผลิตช้าลง มีการหยุดพักระหว่างวัน หรือมีการสลับเปลี่ยนกะระหว่างวัน หรือเหมาะอย่างยิ่งหากโรงงานของคุณมีปั๊มลมตั้งแต่สองตัวขึ้นไป การใช้งานเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีเทคโนโลยี VSD และปั๊มลมแบบความเร็วคงที่ร่วมกัน จะช่วยให้คุณประหยัดต้นทุนด้านพลังงานได้มาก