Last updated: 2 เม.ย 2568 | 5 จำนวนผู้เข้าชม |
โดยปัจจุบัน Pneumatic Fitting ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งในอุตสาหกรรมที่มีระบบลมนิวเมติกส์ควบคุม หรือใช้งานในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้างกับระบบลม เพื่อให้ง่ายต่อการถอดเปลี่ยน หรือใส่สายลมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เช่น ใช้ต่อสายลมเข้ากระบอกลม, ใช้ต่อสายลมเข้าโซลินอยด์วาล์ว หรือใช้ในส่วนของลมอัดที่ใช้ในโรงงาน เช่น ตัวกรองลม ตัวปรับแรงดันลม เป็นต้น
กลับสู่ด้านบน
ชนิดของวัสดุข้อต่อลม
นอกจากนี้ เราสามารถแบ่ง ชนิดข้อต่อลม ฟิตติ้งลม ตามวัสดุที่ใช้งาน ได้ดังนี้
อต่อลมแบบพลาสติกล้วน มีน้ำหนักเบา ราคาถูก และทนสารเคมีได้ดี เหมาะกับงานที่ต้องการความทนทานต่อสารเคมี แต่ก็มีข้อจำกัด คือ ทนแรงดันได้น้อยกว่าฟิตติ้งโลหะและอาจเสื่อมสภาพเมื่อถูกแสงแดด หรือความร้อนเป็นเวลานานได้
ข้อต่อลมแบบโลหะ เช่น สแตนเลส ทองเหลือง เหล็ก เป็นต้น ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายลมในระบบนิวเมติกส์ ทนแรงดัน ทนความร้อน และความเย็นได้ดี มีความแข็งแรง เหมาะกับงานที่ต้องการความทนทานสูง
ข้อต่อแบบผสม คือ ด้านนึงเป็นพลาสติก และอีกด้านนึงเป็นโลหะ เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์นิวเมติกส์กับสายลมได้หลากหลายขึ้น
ประเภทของข้อต่อลม
ปัจจุบันข้อต่อลม หรือ ฟิตติ้งลม ที่ใช้กันในงานนิวเมติกส์ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. ข้อต่อลม สำหรับเชื่อมต่อ “อุปกรณ์ลม”
ลักษณะเป็นเกลียวที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ลม และอีกด้านจะใช้เชื่อมต่อกับสายลม จะเป็นเกลียวอยู่ด้านหนึ่ง จะเป็นตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้ เพื่อขันติดตั้งกับตัวอุปกรณ์ลม อีกด้านจะใช้สำหรับเสียบกับสายลม เช่น ข้อต่อตรง, ข้อต่องอ, ข้อต่อ 3 ทาง และข้อต่อที่มีมากกว่า 3 ทาง สามารถต่อใช้งานได้หลายรูปแบบ ตามการใช้งานแต่ละประเภท ดังนี้
ข้อต่อลมแบบ 2 ทาง ใช้กับงานที่ต้องต่อกับอุปกรณ์ลมโดยตรงในฝั่งที่เป็นเกลียว อีกฝั่งจะใช้เสียบสายลม 1 ข้าง เช่น ข้อต่อตรง และข้อต่องอ ช่วยปรับเปลี่ยนทิศทางของสายลม
ข้อต่อลมแบบ 3 ทาง ใช้กับงานที่ต้องต่อกับอุปกรณ์ลมในฝั่งที่เป็นเกลียว อีกฝั่งเสียบสายลมแยกออกได้ 2 ข้าง เพื่อให้กระจายลมให้ใช้งานพร้อมกันได้ทั้ง 2 ตำแหน่ง เช่น ข้อต่อลม 3 ทาง รูปตัว T, ข้อต่อลม 3 ทาง รูปตัว Y และข้อต่อลมแบบตัวเรียงต่อ
ข้อต่อลมแบบหลายทาง จะมีรูเสียบสายลมมากกว่า 3 ทางขึ้นไป ใช้กระจายสายลมไปหลายจุดอย่างทั่วถึง ออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฟิตติ้งลมรูปกากบาท และฟิตติ้งลมแบบตัวเรียงต่อ
2. ข้อต่อลม สำหรับเชื่อมต่อ “สายลม”
หัวต่อ จะเป็นหัวที่ใช้เสียบกับสายสม มีตั้งแต่ 2 ทางขึ้นไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับสายลม ทำให้สายลมมีความยาวขึ้น เพื่อเพิ่มทิศทางลมให้กระจายไปได้หลายทางตามการใช้งาน ดังนี้
ข้อต่อลมเสียบสายลม 2 ด้าน เช่น แบบต่อชน และ แบบต่อลดขนาด
ข้อต่อลมเสียบสายลม 3 ด้าน มีทั้งแบบด้านที่เสียบสายลมเข้า-ออก เท่ากันทั้ง 3 ด้าน และแบบเสียบสายเข้า-ออก ไม่เท่ากัน เช่น ฟิตติ้งแบบเสียบสาย 3 ด้าน รูปตัว T, ฟิตติ้งแบบเสียบสาย 3 ด้าน รูปตัว Y
ข้อต่อลมเสียบสายลมมากกว่า 3 ทางขึ้นไป โดยออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฟิตติ้งลมรูปกากบาท และ ฟิตติ้งลมแบบตัวเรียงต่อ
กลับสู่ด้านบน
คำแนะนำเลือกซื้อข้อต่อลม-ฟิตติ้งลม
การเลือกซื้อข้อต่อลม-ฟิตติ้งลม เพื่อนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ควรพิจารณาดังนี้
เลือกข้อต่อลมให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่นำไปใช้ เช่น ทนต่อความชื้น สารปนเปื้อน เป็นต้น
ตรวจสอบระดับแรงดันก่อนเลือกใช้งานที่สามารถรองรับได้ โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหาย การรั่วไหล หรือการแตกหัก (การวัดแรงดันในระบบนิวเมติกส์ จะใช้หน่วยเป็น PSI)
เลือกใช้วัสดุข้อต่อลม-ฟิตติ้งลม ตรวจสอบขนาดของท่อลม ให้เหมาะกับประเภทของงานที่นำไปใช้ด้วย
ตรวจสอบเกลียว และขนาดข้อต่อลมก่อนเลือกใช้ เพื่อการเชื่อมต่อที่เหมาะสมระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ของอุปกรณ์
เพื่อให้การเลือกใช้งานข้อต่อลม ฟิตติ้งลมอย่างมีประสิทธิภาพ Kacha มีข้อต่อลมหลายขนาดหลากหลายรูปแบบ จัดจำหน่าย เพื่อเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของงาน สามารถติดต่อสอบถามได้ทันที มีบริการจัดส่งรวดเร็ว และมีผู้เชี่ยวชาญยินดีให้คำปรึกษาแนะนำในการเลือกข้อต่อลมให้ตอบโจทย์ความต้องการ
3 เม.ย 2568
31 มี.ค. 2568
1 เม.ย 2568
29 มี.ค. 2568