ข้อดี-ข้อเสีย ของเครื่องอัดลมทั้ง 4 ประเภท

Last updated: 7 พ.ค. 2567  |  258 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ข้อดี-ข้อเสีย ของเครื่องอัดลมทั้ง 4 ประเภท

ถ้าพูดถึงตัวแปรที่สำคัญในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ เชื่อว่า “ระบบลม” (Air Compressor) หรือที่เรียกกันว่า “ปั๊มลม”      หรือ “เครื่องอัดลม” ย่อมเป็นหนึ่งในระบบที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิต เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลาย                    อุตสาหกรรม โดยประเภทของปั๊มลมนั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอัดลมโรตารีสกรู เครื่องอัดลมไร้น้ำมัน เครื่องอัดอากาศ 2 ขั้นตอน      ฯลฯ ซึ่งในแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป

        แต่เมื่อนำไปใช้งานจริง เครื่องอัดลมในแต่ละประเภทจะมีข้อดี-ข้อเสียที่ต่างกันอย่างไรบ้าง เราไปหาคำตอบพร้อมกันได้เลย


1. เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ

เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ หรือปั๊มลมลูกสูบ เป็นปั๊มลมแบบเก่าที่ใช้กันมานาน ปั๊มลมประเภทนี้ที่พบเห็นบ่อยทั่วไปตามโรงรถ หรือโรงงานขนาดเล็กมักจะใช้มอเตอร์ขับเคลื่อน โดยจะขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ในแนวดิ่งหรือขึ้น-ลงในการดูดและอัดอากาศภายในกระบอกสูบ อีกชนิดหนึ่งที่พบมากจะใช้ทั้งมอเตอร์และสายพานขับเคลื่อน ปัจจุบันปั๊มลมประเภทนี้มีการพัฒนาที่ทำให้ไร้น้ำมันปนเปื้อนด้วย และยังมีชนิดของการทำงานแบบขั้นตอนเดียว สองขั้นตอน และหลายขั้นตอน

ข้อดี: ราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย เหมาะสำหรับการใช้งานทั้งในแบบครัวเรือนและอุตสาหกรรมโรงงานขนาดย่อม มีขั้นตอนการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก รวมทั้งสามารถดูแลรักษาและซ่อมบำรุงได้ง่าย

ข้อเสีย: โดยปกติจะไม่สามารถทำงานยาวต่อเนื่อง มีเสียงดัง อากาศอัดที่ได้ไม่ค่อยสะอาดนัก และมักจะปนเปื้อนน้ำมัน

2. เครื่องอัดลมแบบโรตารี

สำหรับเครื่องอัดลมแบบโรตารี เครื่องอัดลมประเภทนี้จะอัดอากาศผ่านการเคลื่อนที่แบบหมุนของชิ้นส่วน เช่น สกรู โรเตอร์ อากาศจะผ่านเข้าสู่เครื่องโดยไม่ต้องใช้วาล์ว ซึ่งจะแตกต่างจากปั๊มลมลูกสูบ ปั๊มลมประเภทนี้ที่คนในแวดวงอุตสาหกรรมและพลังงานรู้จักกันดีก็คือเครื่องอัดลมสกรูโรตารี (rotary screw compressors) นั่นเอง

ข้อดี: ขนาดไม่ใหญ่ น้ำหนักเบา เสียงเบากว่าและสั่นสะเทือนน้อยกว่าแบบลูกสูบ ทำงานยาวนานต่อเนื่องได้ และค่อนข้างมีประสิทธิภาพด้านพลังงาน สามารถปั๊มลมได้เร็วและจ่ายอากาศได้จำนวนมาก โดยที่ไม่ต้องติดตั้งถังเก็บลม

ข้อเสีย: ปั๊มลมโรตารี ซึ่งร่วมถึงเครื่องอัดลมโรตารีสกรูมีชิ้นส่วนที่หมุน แม้ว่าจะน้อยกว่าแบบลูกสูบก็ตาม ซึ่งยังคงทำให้เกิดการสึกหรอ และมักต้องใช้น้ำมันในการหล่อลื่น จึงยังคงมีการปนเปื้อนของน้ำมัน

3. เครื่องอัดลมไร้น้ำมัน

เครื่องอัดลมไร้น้ำมัน คือ ระบบปั๊มลมแบบลูกสูบ ที่ถูกพัฒนาโดยตรงมาจากเครื่องอัดลมโรตารีสกรู จึงทำให้มีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือการใช้ลูกสูบเป็นตัวสร้างอากาศอัด แต่แตกต่างกันตรงที่ เครื่องอัดลมไร้น้ำมันจะมีลักษณะพิเศษอยู่ที่กระบอกสูบที่ขัดมัน ทำงานร่วมกับแหวนลูกสูบแบบยาง และไม่ต้องใช้วิธีการปิดผนึกและการหล่อลื่นแบบปั๊มลมประเภทลูกสูบ โดยมีกลไกภายในที่ไม่กระทบหรือสัมผัสถูกกัน จึงไม่ต้องการการหล่อลื่น หรือใช้วัสดุอย่างอื่นมาช่วยปกป้องกลไกให้สามารถทำงานอย่างราบรื่น จึงปราศจากน้ำมัน

ปั๊มลมประเภทนี้จะมีกลไกภายในหรือชิ้นส่วนที่ไม่กระทบหรือสัมผัสถูกกันจึงไม่ต้องการการหล่อลื่น หรือใช้วัสดุอย่างอื่นมาช่วยปกป้องกลไกให้สามารถทำงานอย่างราบรื่น จึงปราศจากน้ำมัน

ข้อดี: ไม่ต้องเติมน้ำมัน ทำให้การอัดอากาศรวดเร็ว ดูแลรักษาง่าย เนื่องจากไม่ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ไร้เสียง ไร้มลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ยังไม่มีการปนเปื้อนน้ำมัน หรือละอองน้ำมันปะปนกับอากาศที่ออกมาเท่ากับเครื่องปั๊มลมแบบใช้น้ำมัน

ข้อเสีย: เนื่องจากไม่มีน้ำมันหล่อลื่น จึงไม่สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ ทำให้มีความทนทานน้อยกว่าเครื่องปั๊มลมแบบใช้น้ำมันหล่อลื่น จึงไม่เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

4. เครื่องอัดลมโรตารีสกรู

เครื่องอัดลมโรตารีสกรู (หลายคนจะเรียกว่าสกรูโรตารี) เป็นปั๊มลมโรตารีชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก ชิ้นส่วนที่หมุนเพื่ออัดอากาศคือโรเตอร์ตัวเมียและตัวผู้ซึ่งจะรวมเรียกว่าแอร์เอนด์ ทำหน้าที่หมุนเข้าหากันและดูดอัดให้อากาศผ่านเข้าไปยังสกรู โดยมีแบริ่งในการช่วยลดแรงเสียดทาน และรองรับน้ำหนักเพลา เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สกรูทั้งสองตัวสัมผัสกัน นอกจากนี้ เครื่องอัดลมแบบสกรูยังมีการระบายความร้อนที่ใช้ทั้งแรงลม น้ำและน้ำมัน เพื่อเป็นตัวระบายความร้อนขณะเครื่องกำลังทำงาน โดยส่วนมาก มักจะใช้กับโรงงานใหญ่ เพราะมีกำลังในการผลิตลมได้ค่อนข้างมาก

ข้อดี: ให้แรงลมต่อเนื่อง ใช้งานในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ เครื่องอัดลมแบบสกรูยังค่อนข้างมีแรงสมดุลที่ดี จึงสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและมีเสถียรภาพ การสั่นสะเทือนที่มีค่อนข้างน้อย

ข้อเสีย: เกิดความร้อนบนตัวเครื่องได้ง่าย มีเสียงค่อนข้างดัง จึงเหมาะกับการติดตั้งอุปกรณ์ลดเสียงรบกวนควบคู่กัน นอกจากนี้ เครื่องอัดลมแบบสกรูมีความสมดุลที่ค่อนข้างมาก จึงทำงานได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ใช้พลังงานที่ค่อนข้างสูง

     

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้