Last updated: 22 มี.ค. 2568 | 17 จำนวนผู้เข้าชม |
คุณสมบัติของน้ำมันปั๊มลมนั้นต้องมีดังนี้
- สารต่อต้านการทำปฎิกิริยากับออกซิเจน
- สารยับยั้งการเกิดสนิม
- สารการยับยั้งการกัดกร่อน
- สารต้านทานการเกิดฟองอากาศ
- สารช่วยชะล้างและทำความสะอาด
ปั๊มลมลูกสูบ
ปั๊มลมลูกสูบมีหลายชนิดในที่นี้ขอแบ่งตามแรงดันลมที่สามารถทำได้
ปั๊มลมลูกสูบแรงดันไม่เกิน 16 บาร์
ปั๊มลมรุ่นนี้ตามคู่มือแล้วจะกำหนดให้ใช้เบอร์น้ำมันเครื่อง VG-100 หรือ ISO 100 ( หมายถึงว่า ความหนือ 100 ที่จุดกลาง 40 C ) ชั่วโมงการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง
ปั๊มลมลูกสูบแรงดันไม่เกิน 40 บาร์
ปั๊มลมลูกสูบชนิดนี้เป็นปั๊มลมแรงดันสูงโดยส่วนใหญ่ใช้กับอุตสาหกรรมเป่าขวด เพราะต้องใช้แรงดันสูงในการขึ้นรูป การที่ปั๊มลมจะต้องทำแรงดันสูงๆนั้นจะทำให้ความร้อนที่ตัวปั๊มลมสูงไปด้วย ดังนั้นปั๊มลมชนิดนี้จึงต้องใช้เบอร์น้ำมันเครื่องสูงขึ้น น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมนั้นจะเป็นเบอร์ VG-150 หรือ ISO 150 ( หมายถึงค่าความหนืด 150 ที่จุดกลาง 40 C ) ชั่วโมงการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง
ปั๊มลมสกรู
ปั๊มลมสกรูนั้นจะมีหลากหลายเบอร์ ซึ่งจะมีความแตกต่างของการใช้งานนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างที่เห็นมีการใช้งานอยู่ทั่วไป
น้ำมันเครื่องเบอร์ 32
น้ำมันเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ทั่วไปเพราะมีราคาที่ไม่สูงมากนักใช้กับปั๊มลมใหม่ เพราะจะมีค่าความหนืดที่ต่ำกว่าเบอร์อื่น ( เมื่อเทียบกับน้ำมันปั๊มลมสกรูด้วยกัน) ค่ากำหนดการใช้งานที่ 2000 ชั่วโมง
น้ำมันเครื่องเบอร์ 46
น้ำมันเครื่องชนิดนี้นิยมใช้งานทั่วไป มีราคาสูงกว่าเบอร์32 นิยมใช้กับปั๊มลมที่ใช้งานมาเป็นเวลานาน จะมีค่าความหนืดที่สูงกว่าเบอร์32 ส่วนใหญ่จะกำหนดค่าการใช้งานที่ 3000 ชั่วโมง
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เบอร์ 46
น้ำมันเครื่องชนิดนี้จะมีผู้ใช้งานน้อยเพราะมีราคาสูงกว่าน้ำมันเครื่องเบอร์ 32 และ 46 แต่จะมีความใสสะอาด ล้างคราบสกปรกได้ดี ส่วนใหญ่จะกำหนดค่าการใช้งานที่ 4000 - 6000 ชั่วโมงที่อุณหภูมิเครื่องไม่เกิน 80 C
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ เบอร์ 46
น้ำมันเครื่องชนิดนี้มีความพิเศษ ส่วนใหญ่จะกำหนดค่าการใช้งานที่ 8000-10000 ชั่วโมง หรือ ไม่กำหนดชั่วโมงการทำงาน ( Long Life ) แต่มีราคาสูงมากจึงมีคนนิยมใช้เฉพาะกลุ่ม
แล้วมีคำถามที่พบบ่อยอีกคือ น้ำมันเครื่องรถยนต์ใช้แทนน้ำมันปั๊มลมได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้ เฉพาะปั๊มลมลูกสูบ จากคุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง
คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องรถยนต์นั้นต้องมีดังนี้
- สารต่อต้านการทำปฎิกิริยากับออกซิเจน
- สารยับยั้งการเกิดสนิม
- สารการยับยั้งการกัดกร่อน
- สารต้านทานการเกิดฟองอากาศ
- สารช่วยชะล้างและทำความสะอาด
- เพิ่มดัชนีความหนืด
- ต้านทานการสึกหรอ
31 มี.ค. 2568
28 มี.ค. 2568
29 มี.ค. 2568
1 เม.ย 2568