วิธีการเลือกและติดตั้ง ปั๊มลม

Last updated: 8 ก.พ. 2568  |  72 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีการเลือกและติดตั้ง ปั๊มลม

ปั๊มลมคืออะไร มีความเป็นมาและหลักการทำงานยังไง?
      เรามาดูกันถึงความเป็นมาและหลักการทำงานกันว่า ปั๊มนั้นถูกคิดค้นขึ้นในปี 1776 จากการนำเครื่องพ่นทรายของ John wilkinson มาพัฒนาต่อยอด แต่ก่อนหน้านั้นเป็นที่รู้จักกันในรูปแบบของ bellow ที่ทำขขึ้นเพื่อใช้สำหรับปั็มอากาศเข้าไปยังเตาหลอมเหล็กของคนสมัยก่อนเพื่อทุ่นแรง หลักการทำงานของปั๊มลมในปัจจุบันนั้นจะใช้ มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวกำเนิดกำลังขับเพื่อสร้างแรงดันลม โดยการนำมาอัดอากาศภายในกระบอกสูบ โดยภายในกระบอกสูบจะประกอบไปด้วยวาวล์ดูเข้าและวาวล์ขาออกโดยทั้งสองจะทำงานสัมพันธ์กันด้วยกระบวนการนี้จะทำให้สามารถปล่อยลมออกมาอย่างสม่ำเสมอโดยอาศัยแรงดันในถังลมเพื่อสร้างความแรงของลมที่ปล่อยออกมา ประเภทการใช้งานก็สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายและเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน

วิธีเลือกปัั๊มลม เครื่องอัดลม ให้เหมาะกับงาน
      สิ่งสำคัญในการใช้งานปั๊มลม คือ การเลือกชนิดและขนาดให้เหมาะสมต่อการทำงานและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เพราะในหลายภาคเช่นอุตสาหกรรมไปจนถึงการก่อสร้าง และ งานออโตโมทีพ ล้วนต้องการปั๊มลมที่เหมาะสมและมีการใช้งานต่างกันออกไปเรามาดูกันว่าจะเลือกใช้งานแบบไหนถึงจะเหมาะกับงานของคุณมากที่สุด เริ่มด้วย

 

  1. ต้องรู้ก่อนว่างงานของคุณต้องการใช้ลมประเภทไหน
          ก่อนอื่นๆต้องทราบไว้ก่อนว่าต้องการประเภทลมแบบไหน เช่นปริมาณมาก ต่อเนื่อง ลมสะอาด ลมที่ปนเปื้อนละลองน้ำมันได้มั้ย แล้วก็กลับไปดูคุณสมบัติของปั๊มลมแต่ละชนิดว่าเหมาะสมกับงานของเราหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ปั๊มลมออยฟรี (Oil free compressor) ซึ่งมีลักษณะเป็นปั๊มลม ที่ไม่มีละอองน้ำมันปนเปื้อนออกมากับลม เพราะตัวเครื่องไม่จำเป็นต้องเติมน้ำมันในการทำงานส่งผลให้ลมที่ปั๊มออยฟรีนี้ผลิตออกมาเป็นอากาศสะอาด ดังนั้นมันจึงเหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เช่น การผลิตยา อาหาร สารเคมี ระบบอิเล็คทรอนิกส์ และงานอื่นๆที่ต้องการลมที่สะอาดไม่มีการปนเปื้อน และที่สำคัญปั๊มลมชนิดนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างคือการทำงานเงียบไม่ส่งเสียงรบกวนมากเกินไปขณะทำงานอีกด้วย

    2. รู้จักประเภทและชนิดของ ปั๊มลม 
    ปั๊มลมที่ใช้กันและเป็นที่นิยมกันในปัจจุบันนี้ มีอยู่หลักๆ 3 ประเภทคือ ปั๊มลมแบบลูกสูบ ปั๊มลมแบบสกรู และปั๊มลมแบบกังหัน แล้วแต่ละแบบเหมาะกับงานแบบไหนมาดูกัน

          2.1 ปั๊มลมแบบลูกสูบสายพาน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการปริมาณการใช้ลมที่ไม่มากนัก และใช้งานแบบเป็นครั้งๆไปหรือใช้ไม่ต่อเนื่อง ด้วยเพราะเนื่องจากเป็นปั๊มลมที่มีราคาไม่แพงนัก มีต้องการการดูแลรักษาที่ไม่บ่อยและซ่อมบำรุงได้ง่าย อะไหล่ปั๊มลม มีราคาถูกและหาได้ง่าย ทั้งยังสามารถทำแรงดันลมได้สูงมากอีกด้วย เช่นงานยิงตะปูลม หรืออื่นๆเป็นต้น

          2.2 ปั๊มลมแบบสกรู เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้ปริมาณลมในระดับน้อยและ ปานกลาง ไปจนถึงมาก โดยตัวปั๊มลมจะใช้เวลาผลิตลมในรูปแบบอัดสั้นหลายครั้งแบบต่อเนื่องโดยที่ไม่ต้องหยุดเดินเครื่อง ข้อดีคือมีเสียงการทำงานที่ค่อนข้างเงียบ และมีลมออกมาอย่างสม่ำเสมอเหมาะกับงานที่หลากหลายเช่นพ่นสี เติมลมรถ เป็นต้น

          2.3 ปั๊มลมแบบกังหัน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้แรงดันลมอัดในปริมาณมาก ทั้งในระยะเวลาสั้นและต่อเนื่องได้ ปั๊มลมชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างมากในอุตสาหกรรม เช่น โรงงานเหล็ก อุตสาหกรรมในปิโตรเคมี งานสูบน้ำและบำบัดน้ำเสีย โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานปั่นด้ายสำหรับทอผ้า เป็นต้นด้วยเสียงที่ดังอาจจะทำให้ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในการติดตั้งปั๊มลมเพื่อลดเสียงรบกวนเวลาเดินเครื่องลง

    *และปั๊มลมอื่นๆอีกเช่น ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม,ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน,ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน

          จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้ปั๊มลมก็เป็นส่วนที่สำคัญอย่างมาก ลองมาสรุปกันว่างานแบบไหนใช้ปั๊มชนิดใดดี เริ่มที่ ถ้าหากต้องการจะใช้ปริมาณลมที่ไม่มากควรพิจรณาเลือกซื้อแบบลูกสูบ เพราะราคาไม่แพงและดูแลซ่อมบำรุงง่าย รวมถึงมีอะไหล่ปั๊มลม ที่ถูกอีกด้วยเมื่อเทียบกับแบบอื่น ถ้าหากต้องการปริมาณลมที่ปานกลางไปถึงมากโดยเครื่องใช้เวลาผลิตลมสั้นกว่าให้เลือกแบบ ปั๊มลมสกรู และปั๊มลมออยฟรี เพราะสามารถผลิตลมได้รวดเร็วและต่อเนื่องโดยไม่ต้องหยุดเดินเครื่อง และทำให้ลมออกมาอย่างสม่ำเสมอแถมยังมีเสียงการทำงานที่เงียบกว่าชนิดอื่นอีกด้วย ส่วนงานที่ต้องการใช้แรงดันลมอัดปริมาณมากๆและใช้แบบระยะเวลาสั้นแต่ต่อเนื่องแนะนำให้ใช้แบบกังหัน แต่จะมีข้อสังเกตุอยู่คือมักจะมีราคาที่แพงกว่าสองตัวแรกและ อะไหล่ปั๊มลมมีราคาที่แพงกว่า แต่ก็แลกมากับการให้พลังงานที่มากกว่าจึงเป็นที่นิยมใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท

3. เลือกตามขนาดปั๊มลมที่เหมาะสม
      ขนาดมาตรฐานของปั๊มลมมักจะแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามการใช้งานต่าง ๆ และความต้องการของการใช้งานตามงานที่เหมาะสม ต่อไปนี้คือขนาดมาตรฐานของปั๊มลมที่พบบ่อย เริ่มที่

3.1. ปั๊มลมขนาดเล็ก

      - กำลังไฟฟ้า 1/6 ถึง 10 แรงม้า ใช้ไฟฟ้า 110V หรือ 220V

โดยมักใช้ในงานที่ต้องการลมแรงน้อยถึงปานกลาง เช่น งานช่าง, การใช้ในโรงงานขนาดเล็ก, หรือการใช้ทางทดแทนในงานที่ต้องการลมสะอาด

3.2. ปั๊มลมขนาดกลาง

      - กำลังไฟฟ้า 15 ถึง 30 แรงม้า ใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 220V หรือ 380V

มักใช้ในงานที่ต้องการแรงดันลมมากขึ้น เช่น ในการทำความสะอาด, การเคลือบ, หรือการใช้ในโรงงานขนาดกลาง

3.3. ปั๊มลมขนาดใหญ่

      - กำลังไฟฟ้า 40 แรงม้าขึ้นไป ไฟฟ้า: 380V หรือ 480V

มักใช้ในงานที่ต้องการแรงดันลมสูง, เช่น ในโรงงานขนาดใหญ่, การใช้ในการขนส่ง, หรือในงานที่ต้องการลมแรง ส่วน ปั้มลม 12v นั้นมักจะเป็นแบบประเภทสำหรับพกพาเพิ่มความสะดวกในการทำงานไปอีกหรือที่มักจะเรียกกันว่าปั๊มลมรถยนต์นั่นเอง

แรงดันของปั๊มลม สามารถแปรผันตามประสิทธิภาพและการใช้งานรวมไปถึงขนาของถังเก็บลมเช่น ปั๊มลม 25 ลิตร ,ปั๊มลม 30 ลิตร,ปั๊มลม 40 ลิตร และปั๊มลม 50 ลิตรที่เป็นมาตรฐาน โดยมักจะมีแรงดันที่ปั๊มลมสามารถสร้างได้ระหว่าง 80 psi ถึง 200 psi หรือ 5-13 bar หรือมากกว่านั้นตามความต้องการของแต่ละงานทั้งงานทั่วไปและในโรงงาน 

4. วิธีติดตั้งและใช้งานปั๊มลม
      ปั๊มลม มีส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วนที่ใช้สำหรับการทำงาน ได้แก่ 1. หัวปั๊มลม 2. มอเตอร์ปั๊มลม และ 3. ถังเก็บลม โดยมีวิธีการทำงานก็คือ อากาศจะถูกดูดเข้าผ่านหัวปั๊มลมโดย อัดลมเก็บไว้ในถังเก็บลมของเครื่องปั๊ม โดยมีมมอเตอร์ปั๊มลมเป็นตัวต้นในการดูดลมเข้ามาในถุงเก็บ ซึ่งขนาดของส่วนประกอบต่างๆ มีความสำคัญและจะต้องเหมาะสมกันเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด

      - การติดตั้งปั๊มลม ควรคำนึงถึง การตรวจสอบสภาพของปั๊มลมให้เรียบร้อย หากพบการชำรุดและข้อบกพร่องจะต้องทำการแก้ไขและซ่อมบำรุงก่อนทำการติดตั้ง โดยให้ติดตั้งปั๊มลมในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีฝุ่นหรือเศษผงมากเกินไป และที่สำคัญควรดูค่าความชื้นด้วยเพราะถ้าหากความชื้นมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดสนิมขึ้นภายในถังเก็บลมได้ และควรมีระยะห่างจากกำแพงอย่างน้อย 15 เซนติเมตรเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและตรวจเช็คสภาพ

      - การตรวจเช็คมอเตอร์ ให้สังเกตุทิศทางการหมุนของมอเตอร์ปั๊มลมให้ถูกทาง โดยให้ตามที่ลูกศรที่มีแสดงอยู่ ถ้าหากว่ามอเตอร์หมุนผิดทิศทางให้ทำการสลับสายพานให้ถูกต้องเฉพาะ (ในกรณีที่เป็นปั๊มลมสายพาน) 

      - ต่อไฟเข้ากับปั๊มลม (กรณีปั๊มลมแบบลูกสูบ)  โดยให้เลือกพิจรณาตามลักษณะของมอเตอร์ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งชนิดออกเป็น 2 แบบที่มีอยู่ในประเทศไทยนั่นก็คือแบบ 2เฟส และ 3 เฟส 2 สาย หรือ เฟสเดียว 220 V. (ไฟบ้าน)ทำการเสียบปล๊กก็ใช้ได้ทุกที่แต่ใช้กระแฟไฟฟ้าสูงกว่ามอเตอร์แบบ 3 เฟส ส่วนแบบ 3เฟส380 V. (ไฟโรงงาน) สังเกตุได้ง่ายๆว่าจะมีขั้วต่อสาย ไม่มีตัวคาปาซิเตอร์ติดอยู่ด้วย

5. การตั้งค่า pressure switch
      ในปั๊มลมเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้ระบบลม compressed air ทำงานอย่างถูกต้องและประสิทธิภาพ ก่อนที่จะเริ่มต้นการตั้งค่า, ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปั๊มลมถูกปิดและไม่มีไฟฟ้าเชื่อมต่อกับปั๊มลมอยู่ ส่วนใหญ่ของ pressure switch จะมีฝาที่สามารถเปิดออกได้ เพื่อเข้าไปตั้งค่า ก่อนที่จะตั้งค่า pressure switch, ให้จดค่าแรงดันที่ต้องการใก่อนในปั๊มลม ของคุณ pressure switch จะมีปุ่มหรือน็อตที่สามารถใช้ปรับค่าแรงดัน. ปรับให้ค่าแรงดันตรงกับค่าที่ต้องการ โดยปกติจะมีปุ่มปรับค่า high pressure (แรงดันสูง) และ low pressure (แรงดันต่ำ)เมื่อทำการตั้งค่าแรงดันเสร็จสิ้น, ให้ปิดฝาครอบด้วยเพื่อป้องกันตัวปรับเอาไว้เปิดปั๊มลมและทดสอบการทำงานของระบบ. ตรวจสอบว่า pressure switch ทำงานตามที่ตั้งค่าไว้ หรือไม่

6. การดูแลรักษา และซ่อมบำรุง ปั๊มลม

การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงปั๊มลมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ปั๊มทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน อย่างแรกคือทำตามคู่มือและศึกษาทำความเข้าใจปั๊มลมของคุณเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานปั๊มลมมากที่สุดและนี่คือบางขั้นตอนแนะนำเบื้องต้นที่คุณสามารถทำเพื่อดูแลรักษาและซ่อมบำรุงปั๊มลม ของคุณให้มีอายุการทำงานยาวนานขึ้นและสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

      - ตรวจสอบน้ำมัน ตรวจสอบระดับน้ำมันในเครื่องปั๊มลมอย่างสม่ำเสมอ และเติมน้ำมันตามความต้องการถ้าจำเป็น

      - ตรวจสอบสายพาน ตรวจสอบสภาพของสายพานและแน่นหรือประสิทธิภาพการทำงานของมัน

      - ทำความสะอาดกรองอากาศ ทำความสะอาดและเปลี่ยนกรองอากาศเป็นประจำเพื่อป้องกันการเสียหายจากฝุ่นและสิ่งสกปรก

      - ระบายน้ำออกจากถังเก็บลม ตรวจสอบระบบระบายน้ำและให้น้ำระเหยได้อย่างถูกต้องเพื่อป้องกันสนิมภายในถังเก็บลม

      - ทำความสะอาดระบบท่อ ทำความสะอาดท่อปั๊มและท่อล่อฟ้าเพื่อให้การไหลของลมมีประสิทธิภาพมากที่สุด

      - ตรวจสอบและซ่อมบำรุงชิ้นส่วนสำคัญ ตรวจสอบชิ้นส่วนสำคัญอื่น ๆ ของปั๊มลม เช่น สวิตช์ วาล์ว และชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่

      - เช็คและปรับความดัน ตรวจสอบและปรับความดันของปั๊มลมตามที่ระบุในคู่มือการใช้งาน

      การบำรุงรักษาปั๊มลมต้องเป็นไปตามลักษณะของปั๊ม เช่นกันกับยี่ห้อและรุ่นที่ต่างกัน การทำการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตนเองเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นแรกในการบำรุงรักษา ซึ่งมีประโยชน์ในการตระหนักถึงอาการผิดปกติของปั๊มและอาจช่วยแก้ไขได้ทันที การศึกษาคู่มือการใช้งานเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ เนื่องจากบางครั้งสาเหตุของปัญหาอาจแก้ไขได้ด้วยตนเอง แต่บางครั้งการซ่อมแซมอาจต้องการผู้เชี่ยวชาญเพราะความซับซ้อนของปัญหาอาจเพิ่มขึ้นนั่นเอง

สรุป
      การเลือกปั๊มลมหรือเครื่องอัดลมให้เหมาะกับงานเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากมีหลายประเภทและขนาดต่าง ๆ ที่เหมาะกับการใช้งานแตกต่างกัน เช่น ตรวจสอบกำลังไฟฟ้าที่มีอยู่และความต้องการของงานว่าต้องการแรงม้าเท่าไร ควรทราบว่างานของคุณต้องการลมประเภทใด เช่น ลมสะอาด, ลมที่ปนเปื้อนน้ำมันได้, หรือปั๊มลมออยฟรีที่ไม่ต้องการการบำรุงรักษาน้ำมัน มีปั๊มลมหลายประเภท เช่น ปั๊มลมแบบลูกสูบ, ปั๊มลมแบบสกรู, และปั๊มลมแบบกังหัน ควรเลือกประเภทที่เหมาะสมกับการใช้งาน ควรเลือกขนาดของปั๊มลมที่เหมาะสมกับปริมาณลมที่ต้องการในงานของคุณ โดยดูที่กำลังไฟฟ้าและแรงม้าคำนึงถึงการติดตั้งและพื้นที่ในการใช้งาน เพื่อให้ปั๊มลมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบรนด์ที่เราแนะนำในตอนนี้ก็จะมีของ ปั๊มลม puma  ถ้าหากไม่แน่ใจควรศึกษาและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อการเลือกที่เหมาะสมสำหรับงานของคุณ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้