ปัญหาน้ำในระบบลมอัด และผลกระทบที่เกิดขึ้น

Last updated: 30 พ.ค. 2567  |  100 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัญหาน้ำในระบบลมอัด และผลกระทบที่เกิดขึ้น

ปัญหาน้ำในระบบลมอัด และผลกระทบที่เกิดขึ้น

    น้ำหรือความชื้นในระบบลม เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ ปั้มลม ( Air compressor) ดูดอากาศจากภายนอกและ ทำการอัดอากาศนั้นให้มีแรงดันสูงขึ้น ความชื้นที่ติดมากับอากาศ จะปะปนอยู่ในลมอัดเป็นจำนวนมาก ถ้าหากระบบกำจัดความชื้น ไม่สามารถดักเอาน้ำ และความชื้นเหล่านี้ออกไปจากระบบได้ ก็จะส่งผลให้ความชื้นดังกล่าวตกค้างในลมอัดที่จ่ายออกมา

ผลกระทบที่เกิดจากน้ำ และความชื้นที่ปะปนเข้าไปในระบบท่อส่งลมอัด
    ความชื้นที่มากเกินไปในระบบอัดอากาศ จะส่งผลเสียหายต่อประสิทธิภาพของทำงานของ ปั้มลม ( Air compressor) การควบแน่นของน้ำในระบบอัดอากาศของปั๊ม จะส่งผลเสียต่อ Pneumatic System, Air Motor, และวาล์ว ไปจนถึงส่วนประกอบต่างๆ ของ ปั้มลม ( Air compressor) และมีการเชื่อมต่อกับระบบ ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมากต่อการปนเปื้อนในระบบของกระบวนการผลิต เราสามารถอธิบายเพิ่มเติมถึงผลกระทบจากความชื้นได้ดังนี้ 

กัดกร่อนของระบบท่อและอุปกรณ์ (เช่น CNC และเครื่องผลิตอื่น ๆ )

ความเสียหายของการควบคุมแรงอัดอากาศ ซึ่งอาจส่งผลเกิดการ Shutdown ของระบบ

การเกิดสนิมขึ้นในกระบวนการของเครื่องปั๊มลมเพราะน้ำ ทำให้อายุการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นเสื่อมประสิทธิภาพ

ปัญหาด้านคุณภาพเนื่องจากเกิดความเสี่ยงต่อคุณภาพที่ต่ำลง, การเปลี่ยนแปลงของสีหรือการยึดเกาะของสี

ในการทํางานของสภาพอากาศที่หนาวเย็นก็อาจเกิดปัญหาจากการหยุดการทำงานของระบบควบคุม

ปัญหาน้ำเข้าไปในอุปกรณ์ลม เช่น กระบอกลม (Actuator) หรือ วาล์วลม (Pneumatic control valve) ทำให้ชำรุดอุปกรณ์เสียก่อนเวลาอันควร เกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูง

ปัญหาค่าใช้จ่ายสำหรับบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศที่สูงเกินความจำเป็นและทำให้อุปกรณ์มีอายุการทำงานสั้น

นอกจากกการเลือก ปั้มลม ( Air compressor) และ เครื่องทำลมแห้ง (Air dryer) ให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาน้ำในระบบแล้ว เรายังสามารถติดตั้งอุปกรณ์ ที่สามารถช่วยแยกน้ำ ออกจากระบบลมได้ดังนี้

Ball valve ซึ่งต้องใช้คนมาคอยเปิดปิดเมื่อมีน้ำสะสมอยู่ในถังลม และ จะมีการสูญเสียลมขณะเดรนน้ำทิ้ง

Auto drain เป็น อุปกรณ์เดรนน้ำออกจากถังลม ที่ใช้ระบบลูกลอย เมื่อน้ำไหลลงมายังอุปกรณ์มากขึ้น ลูกลอยจะถูกน้ำยกตัวขึ้น ส่งผลให้น้ำถูกเดรนออก ในขณะเดียวกันก็มีลมหลุดรอดออกไปพร้อมกับน้ำอีกด้วย จึงมีการพัฒนา Auto drain ให้มีหลากหลายชนิดยิ่งขึ้น มีรูเดรน (Orifice) ที่ใหญ่ขึ้น ส่งผลเดรนน้ำได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ลดการสูญเสียของลมได้อีกด้วย เรามักเรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า Zero loss drain (ติดตามได้ในบทความเรื่อง Zero loss drain)

 Time drain เป็น อุปกรณ์เดรนน้ำ โดยสามารถตั้งเวลา ให้วาล์วเปิดตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น ให้วาล์วเปิดทุกๆ 30 นาที เป็นระยะเวลา 9 วินาที อุปกรณ์ตัวนี้ต้องอาศัยการจ่ายไฟฟ้า เพื่อควบคุมการทำงานของวาล์ว และจะมีการสูญเสียลมโดยเปล่าประโยชน์ในกรณีที่ไม่มีลมค้างอยู่ในถัง (รายละเอียด Timer drain)

Filter (กรองลม) มีหลากหลายชนิด เช่น Main line filter, Air service unit (ชุดกรอง) และ High efficiency filter ( กรองลมประสิทธิภาพสูง ) ซึ่งอุปกรณ์ที่กล่าวมานอกจากจะทำหน้าที่กรองน้ำออกจากระบบ ยังทำหน้าที่ดักจับฝุ่น กลิ่น หรือสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่ปะปนมากับลม โดย Filter ( กรองลม ) แต่ละตัวก็มีความละเอียดในการกรองที่แตกต่างกันไป เช่น 1 ไมครอน, 0.1ไมครอน, 0.3 ไมครอน หรือ 0.03 ไมครอน Filter (กรองลม) แต่ละชนิดก็เหมาะสมกับจุดใช้งาน และ คุณภาพของลมที่ต้องการใช้ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Filter (กรองลม)

จะเห็นได้ว่ามีอุปกรณ์ที่จะมาช่วยแก้ ปัญหาการแยกน้ำออกจาก ระบบลม หลายชนิด ซึ่งผู้ใช้ควรเลือกให้เหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้น แต่วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการเลือก ปั้มลม ( Air compressor) และ เครื่องทำลมแห้ง (Air dryer) ให้เหมาะสมตั้งแต่แรก ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลในโอกาสต่อไป


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้