Last updated: 30 พ.ค. 2567 | 90 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำความรู้จัก 6 ประเภทของปั๊มลม
ปั๊มลมถือเป็นเครื่องมือช่างที่สำคัญไม่แพ้เครื่องมือช่างประเภทอื่น ๆ เลยทีเดียว ซึ่งการใช้งานปั๊มลมนั้น ไม่เพียงแต่ใช้กันเฉพาะงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แม้แต่ตามบ้านเรือนก็จำเป็นต้องใช้ปั๊มลม เช่น เติมลมยางจักรยาน, มอเตอร์ไซต์, รถยนต์, ลูกบอล ซึ่งวันนี้ดูโฮมไกด์เลยมาสรุปประเภทของปั๊มลมให้ทุกคนได้รู้จักกัน
ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Piston Air Compressor)
หลักการทำงานปั๊มลมลูกสูบ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังมาขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ทำให้เกิดแรงดูดเเละอัดอากาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน ถือเป็นปั๊มลมที่นิยมใช้งานมากที่สุดด้วยความเหมาะสมต่อการใช้งานและราคาที่ไม่สูงมากนักและยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกอีกด้วย
ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)
เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการทำงานคล้ายระบบลูกสูบเเต่จะมีแผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวกั้นไม่ให้อากาศสัมผัสกับลูกสูบ ทำให้ลมที่ถูกดูดเข้าไปในปั๊มหรือเครื่องอัดลมจะไม่โดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ส่วนลมที่ได้ก็จะไม่มีการผสมกับน้ำมันหล่อลื่น สามารถสร้างแรงดันได้สูงคล้ายปั้มลูกสูบ มีการนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร ใช้ปั๊มลมเพื่อส่งสารเคมีต่างๆ
ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor)
เป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป เพราะเครื่องปั๊มลม หรือ Air Compressor ประเภทนี้จะให้การผลิตลมที่มีคุณภาพสูง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการหมุนเพลาสกรู 2 ตัวให้หมุนเข้าหากันทำให้เกิดแรงอัดอากาศขึ้นมา เครื่องอัดลมแบบสกรูจะได้ปริมาณลมที่สม่ำเสมอกว่าแบบลูกสูบ เครื่องปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศประเภทนี้จะสามารถจ่ายลม 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที และยังสามารถทำความดันได้สูงถึง 13 บาร์เลยทีเดียว
มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
จุดเด่นของปั๊มลมประเภทนี้คือการที่เครื่องหมุนเรียบให้ความสม่ำเสมอ ทำให้อากาศที่ออกมามีแรงดันที่คงที่ เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงลมที่สม่ำเสมอและคงที่
ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
ลักษณะของปั๊มลมประเภทนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน จะทำให้ลมถูกดูดเข้าไปจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยอากาศที่ถูกดูดเข้าไปนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนปริมาตร ทำให้อากาศที่ไม่ถูกบีบหรืออัดตัว แต่อากาศจะมีการอัดตัวตอนที่เข้าไปเก็บในถังลม ปั้มลมประเภทนี้ต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณหภูมิที่ดี ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการหล่อลื่นขณะทำงาน และมีต้นทุนการผลิตที่สูง
ปั๊มลมประเภทกังหัน (Redial And Axial Flow Air Compressor)
เป็นปั๊มลมอีกประเภทหนึ่งที่มีการจ่ายอัตราลมที่มาก เนื่องจากลักษณะจะเป็นใบพัดกังหันดูดลมเข้าจากอีกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ตามแกนด้วยการหมุนที่มีความเร็วสูง และลักษณะของใบพัดก็เป็นส่วนสำคัญเรื่องอัตราการจ่ายลม สามารถกระจ่ายแรงลมได้ตั้งแต่ 170 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
6 ก.ย. 2567
5 ก.ย. 2567
27 ธ.ค. 2567
10 ก.ย. 2567