Last updated: 17 เม.ย 2568 | 9 จำนวนผู้เข้าชม |
ปั๊มลมลูกสูบแบบใช้สายพาน
จะมีลักษณะที่หัวปั๊มแยกออกจากกันกับมอเตอร์ โดยหลักการทำงานจะใช้สายพานและมอเตอร์ในการขับ มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ Single Stage และ Two Stage ที่สามารถทำแรงดันได้สูงถึง 15 บาร์ ปั๊มลูกสูบแบบใช้สายพานที่ทำแรงดันแบบ Single Stage จะมีทั้งรุ่นที่ใช้น้ำมันหล่อลื่นและแบบไม่ใช้น้ำมัน มีราคาค่อนข้างสูง แต่ปั๊มมีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้กับงานหนักได้ มีขนาดใหญ่กว่าปั๊มแบบโรตารี่ เช่น ปั๊ม SWAN เป็นปั๊มที่มีความจุถังมากถึง 400 ลิตรให้เลือกใช้งาน มีหลากหลายรุ่นตั้งแต่ขนาดถังความจุ 36 – 400 ลิตร มีลักษณะเป็นปั๊มแบบถังนอน
ปั๊ม SWAN ที่ชื่อรุ่นลงท้ายด้วย U ปั๊มจะผลิตลมออกมาเมื่อแรงดันถึงจุดที่เรากำหนดไว้ unloader valve จะสั่งปิดลมเข้าถังและกดลิ้นวาล์วให้เปิดมอเตอร์ให้ทำงานเบาลง รุ่น U จึงเป็นรุ่นที่ระบายความร้อนได้ดีและเหมาะกับการใช้งานตลอดทั้งวัน ส่วนชื่อรุ่นที่ลงท้ายด้วย P จะเป็นรุ่นที่มี Pressure switch เมื่อปั๊มทำแรงดันได้ถึงจุดที่กำหนดมอเตอร์จะตัดการทำงานทันทีและจะทำงานอัตโนมัติเมื่อแรงดันภายในถังต่ำกว่าค่าที่เรากำหนด
ปั๊มลมลูกสูบแบบโรตารี่
ปั๊มลูกสูบแบบโรตารี่ เป็นปั๊มแบบที่ไม่ใช้น้ำมันหล่อลื่น มีระบบการทำงานแบบ Single Stage ซึ่งสามารถสร้างแรงดันได้ 8 – 10 บาร์ หัวปั๊มจะติดกับตัวมอเตอร์ ส่วนใหญ่แล้วปั๊มประเภทนี้จะมีขนาดตัวปั๊มที่ค่อนข้างกะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาไม่แพง แต่ก็มีข้อเสียที่มีเสียงค่อนข้างดังขณะปั๊มทำงาน อายุการใช้งานสั้นกว่าปั๊มแบบใช้สายพาน แต่สามารถทำลมได้เร็วกว่า เช่น ปั๊ม PUMA ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะในภาคอุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องใช้ลมในกระบวนการผลิตหรือกลุ่มคนทั่วไป ตัวปั๊มวัสดุเป็นเหล็กหล่อ มีความแข็งแรงทนทาน มีขนาดเล็ก ไม่เปลืองพื้นที่ มีความคล่องตัวสูง ระบายความร้อนได้ดี ปั๊ม PUMA มีทั้งแบบสายพานและแบบโรตารี่ มีให้เลือกใช้งานหลายขนาด
ข้อดีของปั๊มลมชนิดลูกสูบ
– มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบใช้สายพานและแบบโรตารี่
– มีให้เลือกใช้งานตั้งแต่ขนาด 1/2 แรงม้าไปจนถึง 15 แรงม้า
– มีความทนทาน
– ทำลมได้เร็วสำหรับปั๊มลูกสูบแบบโรตารี่
– ค่าซ่อมบำรุงไม่สูง
– เหมาะกับการใช้งาน เช่น ใช้ในอู่ซ่อมรถ งานเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ข้อเสียของปั๊มลมชนิดลูกสูบ
– ลมที่ได้อาจมีน้ำมันปะปนออกมา
– มีโครงสร้างคล้ายกับเครื่องยนต์ หากเป็นปั๊มที่ไม่ใช้น้ำมันในการขับอาจทำให้เกิดความร้อนสูงได้ง่ายและสึกหรอเร็วกว่าแบบที่ใช้น้ำมัน
– มีเสียงค่อนข้างดังขณะปั๊มทำงานสำหรับปั๊มแบบโรตารี่
ความแตกต่างที่สำคัญ:
การส่งกำลัง: ปั๊มแบบลูกสูบอาจใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนโดยตรง ในขณะที่ปั๊มแบบสายพานใช้สายพานเป็นตัวส่งกำลัง
ปริมาณลม: ปั๊มแบบสายพานสามารถผลิตปริมาณลมได้มากกว่าปั๊มแบบลูกสูบ
การใช้งาน: ปั๊มแบบลูกสูบเหมาะสำหรับงานที่ต้องการแรงดันลมสูง แต่ปั๊มแบบสายพานเหมาะสำหรับงานที่ต้องการปริมาณลมมากและใช้งานต่อเนื่อง
ราคา: ปั๊มแบบลูกสูบมีราคาถูกกว่าปั๊มแบบสายพาน
เสียง: ปั๊มแบบลูกสูบเสียงดังกว่าปั๊มแบบสายพาน
การดูแลรักษา:
ตรวจสอบและทำความสะอาดตัวกรองอากาศเป็นประจำ
ถ่ายน้ำมันหล่อลื่น (สำหรับแบบใช้น้ำมัน) ตามระยะเวลาที่กำหนด
ตรวจสอบและทำความสะอาดวาล์วและชิ้นส่วนต่างๆ
ระบายน้ำออกจากถังพักลมเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
10 เม.ย 2568
12 เม.ย 2568
19 เม.ย 2568