Last updated: 28 เม.ย 2568 | 5 จำนวนผู้เข้าชม |
โดยปกติแล้ว ปั๊มลมอุตสาหกรรมนั้นมีด้วยกันอยู่หลายประเภท เช่น
1. Reciprocating compressor หรือ ปั๊มลมแบบลูกสูบ
ปั๊มลมชนิดนี้มีขนาดแรงม้าตั้งแต่ 1/4- 300 แรงม้า โดยขึ้นอยู่กับการผลิต ปั๊มลมชนิดนี้ทำแรงดันลมอัดได้สูงมาก บำรุงรักษาง่ายไม่ยุ่งยาก แต่มีเสียงดังมาก ถ้าขนาดไม่เกิน 15 แรงม้า ยังนิยมใช้งานอยู่ทั่วไป
2. Twin-screw compressor หรือ ปั๊มลมแบบสกรู
ปั๊มลมชนิดนี้มีขนาดแรงม้าตั้งแต่ 3-300 แรงม้า โดยขึ้นอยู่กับการผลิต ปั๊มลมชนิดนี้นิยมใช้โดยทั่วไป บำรุงรักษายุ่งยากมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแบบลูกสูบ มีเสียงเงียบ ประสิทธิภาพสูง นิยมใช้งานโดยทั่วไป
3. Centrifugal compressor หรือ ปั๊มลมเทอร์โบ
ปั๊มลมชนิดนี้เป็นปั๊มลมขนาดใหญ่ มีความต้องการปริมาณลมอัดสูงมาก มีขนาดตั้งแต่ 200 แรงม้าขึ้นไป การบำรุงรักษาต้องใช้เจ้าหน้าที่เฉพาะทาง นิยมใช้กับกระบวนการผลิตที่ต้องการปริมาณลมอัดสูงมาก
4. Single-screw compressor หรือ ปั๊มลมแบบสกรูเดี่ยว
ปั๊มลมชนิดนี้จะมีเสียงเงียบ มีขนาดตั้งแต่ 5 - 50 แรงม้า การบำรุงรักษาเหมือนกับแบบ Twin-screw
5. Scroll compressor หรือ ปั๊มลมแบบสกอ
ปั๊มลมชนิดนี้มีเสียงเงียบมาก มีขนาดตั้งแต่ 5 - 20 แรงม้า นิยมใช้กับห้องทดลอง
พิจารณาแรงดันใช้งาน Kg/CM2G
แรงดันในระบบลมอัดนั้นส่วนใหญ่จะมีหน่วยวัดที่หลากหลาย เช่น Kg/CM2G , Bar , Mpa เป็นต้น ก่อนอื่นเลยต้องรู้ว่าเครื่องจักร หรือ จุดใช้งานนั้น ต้องการแรงดันลมอัดขั้นต่ำนั้นกี่ bar ซึ่งจะมีผลต่อการใช้งาน นอกจากจะพิจารณาแรงดันลมอัดที่ปั๊มลมนั้น ยังต้องดูขนาดท่อ และ ระยะทาง ในการส่งลมอัดด้วย เนื่องจาก ขนาดท่อและความยาวของท่อส่งลมอัด จะทำให้แรงดันของลมอัดนั้นลดลงด้วย ในกระบวนการผลิตต่างกันก็จะใช้แรงดันลมอัดต่างกันด้วย อย่างเช่น ในอุตสาหกรรมเป่าขวดเครื่องจักรต้องการแรงดันลมอัดขั้นต่ำที่ 30 bar เติมลมให้กับยางรถบบรรทุกใช้แรงดันลมอัด 12-14 bar เครื่องเลเซอร์ตัดแผ่นเหล็กใช้แรงดันลมอัด 12 bar เครื่องCNCใช้แรงดันลมอัด 5 bar เป็นต้น
พิจารณาจากอัตราการไหลของลมอัด
อัตราการไหลของลมอัดนั้นส่วญใหญ่จะมีหน่วยวัดที่หลากหลาย เช่น M3/min , l/min , CFM อัตราการใช้งานความต้องการใช้ปริมาณลมสูงสุดของเครื่องจักรดูได้จากสเปคเครื่องจักรนั้นๆ ซึ่งแต่ละเครื่องจักรก็มีความต้องการปริมาณลมที่แตกต่างกัน ถ้ากรณีที่เครื่องจักรในกระบวนการผลิตนั้นมีมากกว่า 1 เครื่อง ก็ให้นำผลรวมทั้งหมดของความต้องการใช้ปริมาณลมอัด โดยปกติแล้วควรเผื่อ 20% ของความต้องการใช้ลมจริงมาพิจารณาด้วย ตัวอย่างเช่น
เครื่องจักรตัวที่1 ต้องปริมาณลมอัดที่ 300 l/min, 5 bar
เครื่องจักรตัวที่ 2 ต้องการปริมาณลมอัดที่ 350 l/min, 5 bar
เครื่องจักรตัวที่ 3 ต้องการปริมาณลมอัดที่ 250 l/min , 5 bar
ผลรวมความต้องการของปริมาณลมอัดของเคริ่องจักรทั้งหมด [ 300 + 350 + 250]+[ 20%ของผมรวมทั้งหมด] = 1080 l/min ที่ แรงดันลมอัด 5 bar
ผลรวมที่ได้ 1080 l/min หรือ 1.08 m3/min
25 เม.ย 2568
26 เม.ย 2568