Last updated: 30 พ.ค. 2567 | 86 จำนวนผู้เข้าชม |
Air Dryer คืออะไร ทำไมต้องมีในระบบปั๊มลม?
Air Dryer คือเครื่องทำลมแห้ง ใช้ทำงานร่วมกันกับ ปั๊มลมเดลต้า หน้าที่หลักของ Air Dryer คือลดปริมาณน้ำและความชื้นที่ปนมาในระบบลมอัดก่อนเข้าสู่อุปกรณ์เครื่องมือลมหรือเครื่องจักรเพื่อให้ได้ลมที่สะอาดปราศจากความชื้นและนำไปใช้งานต่อได้อย่างสมบูรณ์ หลักการทำงานและประโยชน์ของ Air Dryer โดยปกติลมที่ถูกผลิตจากเครื่องปั๊มลมนั้นจะมีน้ำและความชื้นปะปนมาด้วยเมื่อต้องการนำลมไปใช้งาน เครื่องจักรทั่วไปจะไม่ต้องการน้ำ ละอองน้ำ หรือความชื้นปะปนมากกับลม และตัวกรองลม (Air Filter) ทั่วไปแล้วจะไม่สามารถกรองน้ำและความชื้นได้เครื่องทำลมแห้งจึงเป็นตัวที่จะช่วยนำน้ำหรือความชื้นให้เกิดการควบแน่นด้วยน้ำยาทำความเย็นหรือเม็ดสารดูดความชื้นแล้วระบายน้ำออกมาทำให้ได้ลมที่มีความแห้งและบริสุทธิ์
ทำไมจึงต้องมี Air Dryer (เครื่องทำลมแห้ง)
เครื่องทำลมแห้งมีหน้าที่ดูดความชื้นจากลมที่ผลิตมาจาก เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมเดลต้าก่อนที่จะนำไปใช้ในการผลิตหรือใช้งานต่างๆ เผื่อไม่ให้เกิดน้ำในระบบก่อนนำไปใช้เครื่องทำลมแห้งจะลดอุณหภูมิลมที่มาจากเครื่องอัดลมให้อยู่ที่ 2-10 องศาเซลเซียสเครื่องทำลมแห้งจะมีสารทำความเย็นในการควบแน่นความชื้นที่อยู่ในลมให้กลายเป็นของเหลวแล้วทำการระบายออกมา การเลือกเครื่องทำลมแห้งนั้นต้องดูจากอัตราการผลิตลมของเครื่องอัดลมว่าสามารถผลิตได้ปริมาณเท่าไร่และต้องคำนึงถึงอุณหภูมิและความชื้นของสถานที่ติดตั้ง
ซึ่งจะมีผลต่อการทำความเย็นของเครื่องทำลมแห้งด้วย โดยการใช้งานนั้นต้องมีการคำนวณเลือกขนาด Air dryer ให้เหมาะสมกับขนาดของปั๊มลมเดลต้าเพื่อการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ การติดตั้งส่วนใหญ่จะติดตั้งเครื่องทำลมแห้ง ( Air Dryer ) ในระบบลมหลังจากที่ลมได้พักจากถังพักลมมาแล้วถังพักลมจะช่วยลดอุณหภูมิของลมได้ส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นการลดภาระของเครื่องทำลมแห้งนอกจากนี้เพราะลมที่ได้จากปั๊มลมโดยตรงนั้นเป็นลมที่มีความชื้นอิ่มตัว 100% ซึ่งความชึ้นที่มีอยู่ในลมจะเกิดเป็นหยดน้ำภายในระบบลม เมื่อมีอุณหภูมิลดลงหยดน้ำและลมชื้นนี้จะสร้างความเสียหายให้กับระบบลมของเราได้แถมยังมีโอกาสที่จะสร้างความเสียหายกับสินค้าที่ผลิตอีกด้วย
Refrigerated Air Dryer (เครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็น) เป็นเครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็น ใช้งานคู่กับปั๊มลมเดลต้า(Air compressor) เพื่อทำให้ลมที่นำไปใช้งานนั้นแห้งและมีคุณภาพ ซึ่งเครื่องทำลมแห้งชนิดนี้สามารถทำค่าความแห้ง pressuredew point ได้ต่ำสุดที่ 3 องศาโดยจะทำงานโดยลมที่เข้ามาจะถูกแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำยาทำความเย็นซึ่งจะทำให้ความชื้นที่อยู่ในลมกลั่นตัวออกเป็นน้ำและถูกระบายทิ้งโดยลมที่ผ่านกระบวนการนี้จะมีสถานะเป็นลมอัดที่แห้งและสะอาดได้มาตรฐาน เหมาะสำหรับโรงงานผลิตทั่วไปเช่นผลิตพลาสติก โรงสีข้าว โรงหล่อเหล็ก ศูนย์บริการรถยนต์ เป็นต้น
DesiccantAir Dryer : (เครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น) เครื่องทำลมแห้งชนิดเม็ดสาร (Desiccantair dryer) เป็นเครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้นสามารถทำ Pressure dew point ได้ตั้งแต่ -20 ถึง -70 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณภาพลมที่ออกมา จัดเป็นลมที่มีความแห้งสูงเป็นพิเศษเหมาะกับอุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่ม เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาอุตสาหกรรมพ่นสีรถยนต์ และเครื่องสำอาง เป็นต้น
หลักการทำงานของเครื่องทำลมแห้งชนิดเม็ดสาร (Desiccant Air Dryer)
การทำงานของเครื่องทำลมแห้งชนิดเม็ดสาร (Desiccant air dryer) จะแบ่งออกเป็น 2 Tower ดังภาพด้านบน โดยอากาศจากปั๊มลม ผ่านเข้า Pre-filter (กรองอากาศชนิดหยาบ) และ Final filter (กรองอากาศชนิดละเอียด) เข้าสู่ Tower A โดยลมที่มีความชื้นจะวิ่งผ่าน actuator valve ที่เปิดอยู่ (ในขณะเดียวกัน Actuator valve ฝั่ง Tower B ก็จะคงสถานะปิด) เมื่อลมที่มีความชื้นวิ่งผ่านเม็ดสารภายใน Tower A เม็ดสารที่อยู่ภายในถังจะทำการดักจับความชื้นและปล่อยเฉพาะลมแห้งออกนอกเครื่องผ่านตัว particle filter (กรองอากาศฝุ่นแห้ง) ที่ออกแบบมาสำหรับดักจับฝุ่นที่เกิดจากการแตกตัวของเม็ดสารดูดความชื้น หลังจากนั้นลมจะผ่านออกจากเครื่องเข้าสู่ระบบส่งต่อเข้ากระบวนการผลิตภายในโรงงาน
ในขณะเดียวกันลมแห้งที่ถูกสร้างภายในTower A จะถูกแบ่งบางส่วนเข้าสู่ Tower B ผ่านตัว Nozzle เพื่อนำไปใช้สำหรับฟื้นสภาพเม็ดสารที่เกิดการอิ่มตัวจากการดูดความชื้นมาก่อนหน้าแล้ว (Regeneration process) วิธีการทำงานคือนำลมแห้งที่มีค่า pressure dew point ติดลบปล่อยให้วิ่งผ่านเม็ดสารที่มีสภาพชื้นโดยลมแห้งจาก Tower A วิ่งผ่าน nozzle เข้าทางด้านบนของ Tower B และออกทางด้านล่าง ผ่าน Silencer ที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ดูดซับเสียงลมที่สูญเสียจากการ purge เพื่อฟื้นสภาพเม็ดสารจะอยู่ที่ราว 16 - 20% และการทำงานของเครื่องทำลมแห้งชนิดเม็ดสาร (Desiccant air dryer) จะทำงานสลับกันระหว่างถังTower A และ Tower B โดยใช้วาล์วไฟฟ้า Actuator valve เป็นตัวควบคุมการทำงาน